วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไมเกรน

ลักษณะของโรคไมเกรน
โรคไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรง และรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง มักเป็นมากกว่าผู้ชาย
ไมเกรนเป็นอาการปวดศรีษะที่พบได้บ่อย โดยในระยะเวลา 1 ปี พบอัตราความชุกของไมเกรนในผู้หญิงร้อยละ 18 ในผู้ชายร้อยละ 6 และในเด็กร้อยละ 4
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการไมเกรนครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 30 ปี แต่ผู้ป่วยบางส่วนอาจจะมีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 40-50 ปี ได้เช่นกัน การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยลักษณะของอาการปวดศรีษะของผู้ป่วยร่วมกับอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ในปี 2004 ทาง HIS (International Heache Society) ได้จัดทำแนวทางในการวินิจฉัยโรคปวดศีรษะขึ้น นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ไมเกรนเป็นภาวะความเจ็บป่วยชนิดหนึ่งที่ทำให้สมรรถภาพในการทำงานของผู้ป่วยลดลงเป็นอย่างมาก
หลายคนพอมีอาการปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมา ก็จะคิดว่าตนเองเป็นไมเกรนไปเสียแล้ว ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว ไมเกรนนี้ เป็นอันตรายหรือเปล่า แก้ไขได้อย่างไร และอาการปวดข้างเดียวของเท่านั้น จัดอยู่ในกลุ่มของไมเกรนด้วยหรือไม่ มาติดตามกันเลยครับ
ประเภทของอาการปวดศีรษะ
(1) เกิดจากกล้ามเนื้อตึงตัว จากการนอกนดึก ความเคร่งเครียด ซึ่งจะปวดตามท้ายทอย ปวดรอบเบ้าตา ร้าวไปกลางศีรษะ จากขมับ ไปข้างหลัง ซึ่งจะพบบ่อย มักจะเกิดจากการที่เราพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือบางทีคนไข้จะบอกว่ามันวิ่งจี๊ดไปมา
(2) เป็นการปวดซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดขยายตัว แต่จะไม่เกี่ยวกับเส้นเลือดตีบ พวกอัมพฤก อัมพาต ซึ่งอาการเส้นเลือดที่ศีรษะขยายตัวที่เรารู้จักกันดีก็คือ ไมเกรน ซึ่งอาการจะกล่าวถึงต่อไป
(3) เป็นอาการปวดเนื่องจากมีอะไรอยู่ในสมอง เช่นเนื้องอก พยาธิ หรืออะไรก็ตามที่มาทำให้ความดันในศีรษะเพิ่มขึ้น อาการปวดแบบนี้จะปวดตื้อ ๆ ลึก ๆ อยู่ข้างใน ที่สำคัญคือจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ คือเริ่มแรกอาจจะไม่ปวดเท่าไหร่ แต่ต่อมาอาจจะปวดถึงขั้นอาเจียร หรือเห็นภาพซ้อน ซึ่งโดยมากแล้วจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น แขนขาอ่อนแรง ชัก
ระยะการปวด
แบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัคือ
1. ระยะ Prodrome พบได้ 60% ของผู้ป่วยเกิดก่อนอาหาร ปวดศีรษะเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
โดยอาการอาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 Psychological prodrome ได้แก่ ความรู้สึกหดหู่ euphoria หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่ายอ่อนล้า ง่วงนอน
1.2 Neurological prodrome ได้แก่ photophobia, phonophobia, hypersomnia
1.3 Constitutional prodrome ได้แก่ คนคอแข็ง รู้สึกหนาว ๆ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ท้องเสีย บวมน้ำ อยากอาหาร อาการเหล่านี้จะต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่จะมีลักษณะเฉพาะในบุคคลนั้น
2. ระยะ Aura พบได้ 20% ของผู้ป่วย โดยจะเกิดขึ้น 5-20 นาทีก่อนอาการปวดศีรษะ และกินเวลาไม่เกิน 60 นาที มักเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ลักษณะสายตามีความผิดปกติเป็นแบบ hemianopic distribution นอกจากนี้อาจจะมีอาการชาหน้า และแขนขาข้างเดียวกัน
3. ระยะปวดศีรษะ มีอาการปวดข้างเดียวแบบตุ้บ ๆ มีอาการมากขึ้นเมื่อมีกิจกรรม เป็นอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง ในระยะแรกอาจปวดทั้งสองข้าง ( พบประมาณ 40 % ) หรือเริ่มจากข้างเดียวก่อนแล้วต่อมาเป็นลามทั้งศีรษะ อาการปวดจะเกิดได้ทุกช่วงของวันแต่มักเป็นช่วงเช้า อาการจะค่อย ๆ เป็น
อาการที่พบร่วมกัน ได้แก่ คลื่นไส้ พบ 90 % อาเจียนพบ 33% ไวต่อแสงเสียง และกลิ่น อาจมีอาการเห็นภาพไม่ชัด คัดจมูก เบื่อหรืออยากอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย หนังศีรษะและใบหน้าบวม ส่วนอาการเจ็บหนังศีรษะ เส้นเลือดบริเวณขมับโปน หรือคอแข็งนั้นพบได้บ้าง
4. ระยะสิ้นสุดและตามหลังอาการปวดศีรษะ ส่วนมากจะมีอาการตรงข้ามกับระยะ prodrome เช่น
ถ้าระยะ prodrome มีอาการกระหายน้ำ ระยะนี้จะมีอาการปัสสาวะบ่อย
ถ้าระยะ prodrome มีอาการอยากอาหาร ระยะนี้จะมีอาการเบื่ออาหารเป็นต้น
ไมเกรนพบบ่อยในคนกลุ่มไหน
คนสูงอายุจะไม่ค่อยเป็นกันมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของวัยรุ่น คนหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงอายุหลายเท่า คนที่เป็นไมเกรนนั้น จะเป็นได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 7-8 ขวบ แต่ที่พบบ่อยจะเป็นช่วงวัยรุ่นอายุ 10 - 25 ขึ้นไป และจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่พออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ อาการจะน้อยลง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนบางอย่าง ผู้หญิงบางคนเป็นมาตลอด พอมาถึงวัยหมดประจำเดือนกลับหายจากอาการไปเลย
การวินิจฉัยไมเกรน โดยอาศัย IHS Classification 1988 แบ่งไมเกรนออกเป็น
1. ไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura อาศัยหลักดังนี้
1.1 เกิดอาการแบบเดียวกันนี้หลายครั้ง (อย่างน้อย 5 ครั้ง)
1.2 อาการปวดกินเวลานาน 4-72 ชั่วโมง
1.3 ลักษณะอาการปวด 4 อย่าง คือ เป็นข้างเดียว เป็นจังหวะ ปวดปานกลางถึงรุนแรง เป็นรุนแรงขึ้นเมื่อทำกิจกรรม
1.4 อาการร่วมได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน กลัวเสียง กลัวแสง
1.5 ไม่มีสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ปวดศีรษะ
2. ไมเกรนที่มีระยะ aura อาศัยหลักดังนี้
2.1 เกิดขึ้นบ่อยครั้ง น้อยกว่าของไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura (เพียง 2 ครั้ง)
2.2 เน้นลักษณะของ aura คือ เป็นนานกว่า 4 นาที แต่ไม่นานกว่า 60 นาที และจะมีอาการปวดศีรษะตามมาภายใน 60 นาที
2.3 ไม่มีสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ปวดศีรษะ
3. ไมเกรนที่มีลักษณะพิเศษอื่น ๆ เช่น
3.1 เกี่ยวกับระยะ aura เช่น มีลักษณะของ aura จำเพาะได้แก่มี homonymous visual disturbance, อ่อนแรง หรือชาข้างเดียว, aphasia ใน migraine with typical aura หรือมีระยะ aura นานกว่า 60 นาที แต่น้อยกว่า 7 วัน ใน migraine with prolonged aura หรือมีระยะ aura เกิดสั้นภายใน 4 นาที ใน migraine with acute onset aura
3.2 มีประวัติครอบครัวใน familial hemiplegic migraine
3.3 basilar migraine มีลักษณะของ aura เป็นอาการที่เกิดที่ basilar artery
3.4 ไม่มีอาการปวดศีรษะตามมาใน migraine without headache
3.5 เกี่ยวกับอาการทางตา เช่น มีอาการอัมพาตของเส้นประสาทสมองที่ 3,4 และ 6 ใน ophthalmoplegic migraine หรือมี scotoma ใน retinal migraine
3.6 เกิดในเด็กได้แก่ benign paroxysmal vertigo of childhood และ alternating gemiplegia of childhood
3.7 มีลักษณะเข้าได้มากกว่า 1 รูปแบบของไมเกรน และยังพบว่าผู้ป่วยไมเกรนที่มีระยะ aura มักจะมีช่วงที่เป็นไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura ด้วย และจากสถิติของคลินิกปวดศีรษะของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังพบผู้ป่วยไมเกรนมีอาการปวดศีรษะแบบ tension-type ได้ 23 ราย ต่อผู้ป่วยทั้งหมด 120 ราย
จากบทความของ
นพ. บัลลังก์ เอกบัณฑิต
และ นพ. กัมมันต์ พันธุมจินดา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น